สถานการณ์ฝนทิ้งช่วง ส่งผลกระทบกับแหล่งน้ำต้นทุนหลายแห่งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะปริมาณน้ำภายในสระน้ำบ้านซาด หมู่ที่ 6 ตำบลชีวาน อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นสระน้ำใช้ผลิตน้ำประปาแจกจ่ายให้กับชาวบ้าน 2 หมู่บ้าน 350หลังคาเรือน พบว่า ปริมาณน้ำเริ่มแห้งลงอย่างรวดเร็ว จนเห็นสันดอนดินทรายโผล่ขึ้นมาในสระน้ำชาวบ้านหวั่นว่า ปลาที่เลี้ยงไว้ในสระน้ำจะตาย จึงช่วยกันทอดแหจับปลาในสระน้ำที่กำลังจะแห้ง นำไปประกอบอาหารรับประทาน
ขณะเดียวกันนายเกียรติศักดิ์ หนูแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 8 เปิดเผยสถานการณ์น้ำกักเก็บในภาพรวมของจังหวัดนครราชสีมาล่าสุด ว่า 4 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง สภาพน้ำปัจจุบัน มีปริมาตรน้ำเหลืออยู่ที่ 94.16 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 29.94 % แต่เป็นน้ำใช้การได้เพียง 71.44 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 24.49 % เท่านั้น ขณะที่อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง มีปริมาตรน้ำเหลือน้อยแค่ 43.49 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 28.06 % และเป็นน้ำใช้การได้เพียง 42.77 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 27.72 % เท่านั้น ส่วนอ่างเก็บน้ำมูลบน ปริมาตรน้ำเหลืออยู่ที่ 26.58 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 18.85% แต่เป็นน้ำใช้การได้เพียง 19.58 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 14.61 % และอ่างเก็บน้ำลำแชะ มีปริมาตรน้ำเหลือ 49.99 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 18.18 % แต่เป็นน้ำใช้การได้เพียง 42.99 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 20.85 % เท่านั้น สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 23 อ่างฯ เหลือน้ำรวม 77.14 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 23.29 % แต่เป็นน้ำใช้การได้ 52.13 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 17.03 % ทำให้ปริมาตรน้ำภาพรวม 4 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 23 อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง รวมเหลือน้ำ 291.37 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 23.95 % และเป็นน้ำใช้การได้เพียง 228.92 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 19.83 % เท่านั้น
ในขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน โดยพายุระดับ 5 (ไต้ฝุ่น) “ไมสัก” บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ กำลังเคลื่อนตัวขึ้นไปทางทิศเหนือ คาดว่าพายุนี้จะเคลื่อนตัวไปยังประเทศเกาหลีในช่วงวันที่ 2-3 กันยายน 2563 แต่พายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ส่วนลักษณะอากาศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พยากรณ์ว่า เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ซึ่งจังหวัดนครราชสีมา ยังมีน้ำกักเก็บอยู่ในเกณฑ์น้อย จำเป็นต้องบริหารจัดการน้ำอย่างรัดกุม เพื่อสงวนน้ำไว้ใช้ให้เพียงพอตลอดฤดูแล้ง และคาดหวังให้มีฝนตกลงมามากขึ้น เพื่อเติมน้ำเข้าอ่างเก็บกักน้ำของในพื้นที่
"แห้ง" - Google News
August 31, 2020 at 10:48AM
https://ift.tt/3juA5gY
ฝนทิ้งช่วงสระผลิตประปาแห้งขณะน้ำในเขื่อนยังน้อย - สำนักข่าว ไอเอ็นเอ็น
"แห้ง" - Google News
https://ift.tt/36Q6ERy
No comments:
Post a Comment