Pages

Friday, July 31, 2020

ผลตรวจ "ปลาหมึกแห้ง" พบปนเปื้อนแคดเมียมเกินเกณฑ์ 7 ตัวอย่าง - ข่าวไทยพีบีเอส

tisukerontang.blogspot.com

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ สุ่มตรวจปลาหมึกแห้ง 7 ใน13 ตัวอย่าง ไม่พบสารพิษจากเชื้อราอะฟลาทอกซินและการตกค้างของยาฆ่าแมลง แต่พบแคดเมียมปนเปื้อนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอาหาร แนะบริโภคพอเหมาะ ไม่บ่อยเกินไป

วันนี้ (31 ก.ค. 2563) ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ภายใต้โครงการสนับสนุนการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ เผยผลทดสอบ การสุ่มเก็บตัวอย่างปลาหมึกแห้ง จำนวน 13 ตัวอย่าง จากตลาดสด ร้านค้า และห้างออนไลน์ เมื่อเดือน ก.พ.-มี.ค.2563 ส่งห้องปฏิบัติการมาตรฐานตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา การตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรในกลุ่มไพรีทอยด์ ปริมาณโซเดียม และโลหะหนัก (ปรอท ตะกั่ว และแคดเมียม)

ผลการตรวจวิเคราะห์ ไม่พบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา Aflatoxin B1, B2, G1, G2 และ Total Aflatoxin และ การตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ 

ภาพ:มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

ภาพ:มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

ส่วนผลทดสอบการปนเปื้อนของตะกั่วและปรอท ในปลาหมึกแห้งที่นำมาทดสอบนั้น ทุกตัวอย่างไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ยกเว้นผลทดสอบแคดเมียม พบว่าปลาหมึกแห้ง จำนวน 7 ตัวอย่าง ที่ส่งตรวจมีการปนเปื้อนของแคดเมียมเกินเกณฑ์มาตรฐาน ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรื่อง กำหนดปริมาณการปนเปื้อนสูงสุดของแคดเมียมในอาหารบางชนิด สอดคล้องกับมาตรฐานโคเด็ก (Codex) ซึ่งกำหนดไว้ว่าต้องไม่เกิน 2 มิลลิกรัม ต่อ อาหาร 1 กิโลกรัม

ผลทดสอบค่าเฉลี่ยปริมาณโซเดียมจากหมึกแห้ง 13 ตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1,097.27 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม สารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทย ตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไป แนะนำให้บริโภคโซเดียมไม่เกินวันละ 2,000 มิลลิกรัมโซเดียมที่เราจะได้รับในแต่ละวันขึ้นอยู่กับอาหารที่เรารับประทาน

อาหารจานเดียวที่เรารับประทานมีโซเดียมตั้งแต่ประมาณ 360 –1,600 มิลลิกรัม ดังนั้น การรับประทานที่เหมาะสม ควรจะคำนึงถึงปริมาณโซเดียมที่จะได้รับจากปลาหมึกแห้ง 200 มิิลิกรัมต่อ 20 กรัม ร่วมกับปริมาณโซเดียมในอาหารอื่นที่เรารับประทานร่วมด้วยในแต่ละวันด้วย

อย่างไรก็ตาม อาหารทะเล เช่น หมึกแห้ง ไม่อาจเลี่ยงการพบโลหะหนักปนเปื้อน เนื่องจากเป็นการตกค้างจากสภาพแวดล้อมทางทะเลที่ยากต่อการจัดการ ดังนั้น สิ่งที่ผู้บริโภคจะทำได้ ก็คือ การเลือกบริโภคหมึกแห้งอย่างพอเหมาะ ไม่บ่อยครั้งจนเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้โลหะหนักสะสมในร่างกาย

ภาพ:มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

ภาพ:มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

Let's block ads! (Why?)



"แห้ง" - Google News
July 31, 2020 at 07:42PM
https://ift.tt/30dwzAX

ผลตรวจ "ปลาหมึกแห้ง" พบปนเปื้อนแคดเมียมเกินเกณฑ์ 7 ตัวอย่าง - ข่าวไทยพีบีเอส
"แห้ง" - Google News
https://ift.tt/36Q6ERy

No comments:

Post a Comment